วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

Cute Black Flying Butterfly

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทความที่ 3 บทความเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในโลก Cyber

คุณธรรม คือ จิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล ศาสนาและอุดมการณ์  เป็นดวงวิญญาณของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วย  ปัจเจกบุคคลต้องมีวิญญาณ สังคมต้องมีจิตวิญญาณ คุณธรรมของปัจเจกบุคคลอยู่ที่การกล่อมเกลาเรียนรู้โดยพ่อแม่  สถาบันการศึกษา  ศาสนา  พรรคการเมืองและองค์กรของรัฐ
จริยธรรม หมายถึง  พฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ควรปฏิบัติที่ดีงามเหมาะสม  และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับของสังคมเพื่อความสันติสุขแห่งตนเอง และความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม 

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  คุณธรรม และจริยธรรม  หมายถึง  คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยได้ยึดถือจนเป็นความเคยชิน อันเป็นคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่ดีงาม เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องของตนเอง ผู้อื่นและสังคม
การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในโลกเสมือนจริงที่มีธรรมชาติ ที่แตกต่างจากโลกจริง ทำให้เราอาจต้องพยายามค้นหาคุณธรรมที่สามารถใช้ได้อย่างสากล ที่เป็นดังนี้เพราะ


บทความที่2 "คุณธรรมนำความรู้" เอาชนะ"ความรู้คู่คุณธรรม"ได้แน่หรือ!!

ตามที่ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยุคปฏิรูปการปกครอง ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในวันแรกๆ ที่เข้ารับตำแหน่งใหม่ ว่าจะเปลี่ยนจุดเน้น หรือเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการใหม่ โดยจะเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ไม่ใช่ความรู้คู่คุณธรรมที่ใช้กันมาเหมือนแต่ก่อน จนกลายเป็นสโลแกนที่อ้างถึงของคนทั่วไป โดยเฉพาะคนวงในการศึกษา แต่ในการปฏิบัติจริงแล้ว กลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
เพราะสถาน ศึกษาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน เก่งด้านวิชาความรู้เป็นหลัก ไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญในด้านคุณธรรมเท่าใดนัก ดังนั้น ด้านคุณธรรมจึงค่อนข้างแผ่วเบามาก มิได้ดำเนินไปอย่างควบคู่ หรือเท่าเทียมกัน ตามสโลแกนที่ตั้งไว้อย่างสวยหรู
หากเราสามารถนำการจัดการเรียนการสอนด้าน วิชาความรู้กับด้านคุณธรรมขึ้นตราชั่งแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าตราชั่งคงจะเอียงกระเท่เร่ เพราะการจัดการเรียนการสอนที่เน้นด้านความรู้ทางวิชาการนั้น จะมีน้ำหนักกว่าการสอนด้านคุณธรรมหลายเท่า การบูรณาการเข้าด้วยกันก็มีน้อยเต็มที จึงมีผลให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เด็กอาจจะเรียนเก่งรอบรู้วิชาการด้านต่างๆ แต่มีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม เด็กจะถูกบังคับโดยปริยายจากระบบการศึกษาที่สอนให้มุ่งแข่งขันชิงดีชิงเด่น กัน เพื่อให้ตนเองมีโอกาสเรียนต่อสูงขึ้นในระบบการศึกษาแบบแพ้คัดออก สังคมของเราทุกวันนี้ จึงเต็มไปด้วยคนเก่ง แต่ไร้คุณธรรม มีการทุจริตคอร์รัปชั่นกันเป็นว่าเล่น ทำให้บ้านเมืองเกิดวิกฤตแทบล่มสลายหลายครั้งหลายหน
ดังนั้น การที่ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนปัจจุบัน ออกมาให้นโยบาย หรือจุดยืนดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่กระทรวงศึกษาธิการจะทำได้สำเร็จมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่ว่ากระทรวงจะมีมาตรการ หรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน อันจะนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาที่เน้นคุณธรรมนำความรู้ และการเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานของผู้บริหารและครูอาจารย์ในสถานศึกษา ซึ่งเคยชินกับการสอนที่เน้นความรู้มากกว่าคุณธรรมได้อย่างไร 

บทความที่ 1 บทความเรื่องคุณธรรมจริยธรรมนำเด็กไทยให้สมบูรณ์

ปัจจุบัน ความก้าวไกลทางเทคโนโลยี ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม การแข่งขัน การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในสังคม ทำให้ คุณธรรมจริยธรรม อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในสังคมลดลงไป เยาวชนรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมกับการแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญก้าวหน้า ในการประกอบวิชาชีพ
ตลอด จนการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษาและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมอันดีงามจึงเป็นสิ่งสำคัญในการหล่อหลอม ขัดเกลาจิตใจของเยาวชนไทยให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะเป็นความหวังอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติในอนาคต
 คุณธรรม เป็นคำสมาสระหว่าง คุณ กับ ธรรมะ เมื่อนำมารวมกันแล้ว จึงหมายถึง คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เป็นแนวความคิดที่ดี เป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี เป็นจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น
จริยธรรม เป็นคำสมาสระหว่าง จริยะ กับ ธรรมะ หมายถึง ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง ก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม รวมสรุปว่าคือ ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
          คุณธรรม จริยธรรม เมื่อนำมารวมกันแล้ว มีความหมายว่า คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำลงไปด้วยความมีสำนึกดีในจิตใจ โดยได้ยึดถือปฏิบัติจนเป็นความเคยชินกันมายาวนาน อันเป็นลักษณะนิสัยของคนดีที่พึงประพฤติปฏิบัติจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่ง ที่ดีงามถูกต้องตามจารีตประเพณีของตนเองผู้อื่นและสังคมโดยรวม